ซื้อรถในนามบริษัทหรือบุคคลดีกว่ากัน?

เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย ซื้อรถในนามบริษัทหรือบุคคล แบบไหนที่คุ้มค่า?

 

ผู้ประกอบการหลายคนมักเกิดคำถามว่าหากต้องการซื้อรถยนต์หรือรถประเภทต่างๆ สำหรับการใช้ในกิจการ ไม่ว่าจะเพื่อการเดินทางติดต่องาน ขนส่งสินค้า สำหรับพนักงานเองก็ตาม ควรเลือกซื้อในนามบริษัทหรือแบบบุคคลดีกว่ากัน วันนี้จะมาลองเปรียบเทียบให้ดูว่าแบบไหนที่ช่วยให้เซฟมากที่สุด และหากซื้อรถมาแล้วจะขายต่อผ่านร้านรับซื้อรถยนต์มือสองหรือรับซื้อรถบริษัทนั้นเมื่อหักค่าใช้จ่ายและภาษีที่เกิดขึ้น จะคุ้มค่าหรือไม่

กรณีซื้อรถในนามบริษัท

หากซื้อรถสำหรับใช้ในธุรกิจหรือกิจการประเภทใดๆ ก็ตาม ควรเลือกซื้อรถยนต์ในนามบริษัทเพราะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ อาจเริ่มจากการพิจารณาประเภทของรถก่อนว่าเป็นแบบใด เช่น รถยนต์นั่ง รถกระบะ ที่นั่งไม่เกิน 10 คนหรือมากกว่า 10 คน หรือเป็นรถยนต์โดยสาร เป็นต้น โดยสามารถแจกแจงการนำไปใช้ประโยชน์ทางภาษีได้ดังนี้

1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม
หากกิจการซื้อรถยนต์ที่เข้าเกณฑ์ เช่นเกิน 10 ที่นั่งหรือรถกระบะ สามารถนำภาษีซื้อมาหักภาษีขายได้ แต่หากไม่อยู่ในเกณฑ์นี้ ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อรถรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าบำรุงรักษา ค่าน้ำมัน ค่ายางรถ ค่าอุปกรณ์และอะไหล่ จะจัดเป็นภาษีซื้อต้องห้ามที่ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้

2.ค่าใช้จ่าย
หากซื้อรถในนามบริษัท สามารถนำค่าใช้จ่ายและต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวกับการซื้อรถยนต์นั่งทั่วไป ไม่เกิน 1 ล้านบาท มาเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนสินทรัพย์ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้

3.ค่าเสื่อมราคา
ตามกฎหมายสามารถหักค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าต้นทุนเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 1 ล้านบาทเท่านั้น โดยสามารถหักค่าเสื่อมราคา/ปีสูงสุดได้ปีละ 200,000 บาท โดยจะต้องแบ่งหักเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ทั้งนี้ รถที่ซื้อเป็นเงินสดราคาเกิน 1 ล้านบาท ส่วนที่เกิน 1 ล้านจะต้องนำมาบวกกลับในการคำนวณภาษีนิติบุคคลประจำปีของกิจการ เพราะไม่สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายส่วนเกินได้

หากให้สรุปข้อดีและข้อเสียยองการซื้อรถในนามบริษัท มีดังนี้

ข้อดี

  • รถในนามบริษัท หักค่าเสื่อมราคาได้สูงสุดไม่เกินปีละ 2 แสนบาท
  • ค่าน้ำมันและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับรถ ลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้
  • ค่าเบี้ยประกันสามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้


ข้อเสีย

  • รถที่ใช้ในกิจการ ไม่ควรนำมาใช้ในกิจกรรมอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
  • ภาษีซื้อไม่สามารถนำมาเคลมได้ แต่ต้องลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ
  • หากขายได้กำไร ต้องลงเป็นรายได้ของกิจการ
  • หากขายรถ ถ้าเป็นกิจการที่จดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นภาษีขายด้วย

กรณีซื้อรถในนามบุคคล

สำหรับการซื้อรถในนามบุคคลและนำมาใช้ในกิจการ ตามกฎหมายหากซื้อรถในนามบุคคล อาจซื้อในนามชื่อของเจ้าของกิจการ รถของกรรมการ หรือรถของพนักงานก็ตาม แม้นำมาใช้ในกิจการจริง แต่จะไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายของกิจการได้ นอกจากกิจการจะทำเป็นสัญญาเช่าซึ่งจะมีภาษีเกี่ยวข้องกับกิจการผู้เช่าตามมา และผู้ที่ให้เช่ารถ ดังนี้

ภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการผู้เช่ารถส่วนตัว
นิติบุคคลที่ทำการเช่ารถยนต์ส่วนตัวเพื่อใช้ในกิจการจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายกิจการ จะต้องมีเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้องคือ

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทผู้เช่ารถยนต์สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของกิจการ เพื่อเสียภาษีนิติบุคคลได้ โดยแบ่งเป็นค่าเช่าทรัพย์สินประเภทรถยนต์นั่ง และรถโดยสารไม่เกิน 10 คน หักรายจ่ายตามจำนวนจริง ไม่เกินคันละ 36,000 บาท/เดือน และค่าเชื่อทรัพย์สินประเภทรถยนต์เชิงพาณิชย์ เช่น การขนส่งสินค้า หรือใช้เพื่องานรับจ้าง สามารถนำค่าเช่ารถยนต์นี้มาหักเป็นรายจ่ายได้ไม่จำกัดจำนวน
  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย หากผู้ใช้เช่าส่งมอบรถยนต์ให้กับบริษัท บริษัทจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 5% ทันทีที่จ่ายเงินค่าเช่ารถยนต์ พร้อมออก
  • เอกสารใบหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ให้กับผู้ให้เช่าทุกครั้งที่มีการจ่ายเงิน และนำส่งภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน จะถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้ แต่สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อคำนวณกำไรสุทธิได้


ภาษีที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้เช่ารถ
กรณีที่เจ้าของผู้ให้เช่ารถส่วนตัวเพื่อใช้ในกิจการ และทำสัญญาเช่า จะต้องเสียภาษี 2 ส่วนคือ

  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถยื่นได้ 2 ช่วงคือ ภาษีครึ่งปี และภาษีสิ้นปี
  • อากรแสตมป์ เมื่อมีการทำสัญญาเช่ารถยนต์ ผู้ให้เช่าจะต้องเสียค่าอากรแสตมป์อัตราร้อยละ 0.1 ของค่าเช่า

หากให้สรุปข้อดีและข้อเสียยองการซื้อรถในนามบุคคล มีดังนี้

ข้อดี

  • ค่าเบี้ยประกันถูกกว่าซื้อรถในนามบริษัท
  • ค่าภาษีรถยนต์ถูกลง
  • สามารถนำรถไปใช้ได้ตามความต้องการ
  • เวลาขายรถไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และกำไรที่เกิดขึ้นไม่ต้องรวมเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีบุคคลธรรมดา

ข้อเสีย

  • ไม่สามารถนำมูลค่ารถมาหักเป็นค่าเสื่อมราคาได้
  • ค่าใช้จ่ายของรถไม่สามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้
  • ค่าเบี้ยประกัน ค่าภาษีรถยนต์ ก็ไม่สามารถลงเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้


ดังนั้นลองคำนวณความเหมาะสมเพื่อซื้อรถสำหรับใช้ในกิจการกันอีกทีว่าแบบไหนที่จะคุ้มค่ามากที่สุด แต่ถ้าหากรถใช้ไปได้สักพักและต้องการปล่อยต่อ มองหาศูนย์รับซื้อรถมือสองที่ไว้ใจได้ เลือก One2One Car รับซื้อรถติดไฟแนนซ์ รับซื้อรถมือ2 รับซื้อรถให้ราคาสูงกว่าเต้นท์ ไม่ว่าจะเป็นรถของบริษัทหรือรถบ้านทั่วไป หากรถยังผ่อนอยู่ก็ขายได้ จ่ายสดไม่กดราคา หมดกังวลปล่อยต่อไม่ได้เพราะรถติดไฟแนนซ์ ผ่อนไม่หมด รับซื้อรถยนต์มือสองให้ราคาสูง รับซื้อรถบ้าน ด้วยราคาที่ยุติธรรม รับเงินสดทันที สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ถูกกฎหมาย ไม่มีปัญหาในภายหลัง มองหาศูนย์รับซื้อรถราคาสูง รือรับซื้อรถบริษัท

 

สามารถติดต่อ one2one - car ศูนย์รับซื้อรถมือสอง รับซื้อรถบริษัท รับซื้อรถติดไฟแนนซ์ รับซื้อรถถึงบ้าน ดูรถถึงที่ฟรี 24 ชั่วโมง
สามารถให้คำปรึกษาแก่คุณได้ เพื่อความสะดวกและความสบายใจของตัวคุณเอง

Tel: 087-508-1444 | Email : one2onecar@gmail.com